แบบประกันลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

แบบประกันชีวิตเป็นเครื่องมือในการลดหย่อนภาษีได้ทั้งสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

by somboon

ประกัน Keyman: ทางเลือกที่ดีในการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

ประกัน Keyman เป็นการทำประกันชีวิตให้กับผู้บริหารหรือบุคคลสำคัญของบริษัท โดยบริษัทเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันและสามารถนำค่าเบี้ยประกันมาหักลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้

การทำประกัน Keyman ช่วยลดความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันกับผู้บริหารที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานของธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นการให้สวัสดิการและแรงจูงใจเพิ่มเติมแก่ผู้บริหาร เพื่อรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าต่อองค์กรให้อยู่กับบริษัทอย่างยั่งยืน

ข้อดีของประกัน Keyman

  • ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล: ช่วยลดค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัทตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
  • เสริมความมั่นคง: ให้เงินชดเชยในกรณีที่บุคคลสำคัญของบริษัทเกิดเหตุไม่คาดฝัน
  • แรงจูงใจและสวัสดิการ: มอบสวัสดิการเพิ่มเติมให้กับผู้บริหาร เพิ่มความผูกพันและแรงจูงใจในการทำงาน
  • วางแผนการเงิน: ช่วยให้บริษัทวางแผนการเงินและภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • คุ้มครองบุคคลสำคัญ: มอบความคุ้มครองชีวิตให้กับบุคคลสำคัญในองค์กร

เงื่อนไขสำคัญในการทำประกัน Keyman

  • อายุความคุ้มครอง: ต้องมีระยะเวลาความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • กรรมการทุกคน: ต้องทำประกันให้กับกรรมการทุกคน ไม่สามารถเลือกทำเฉพาะบางคนได้
  • ข้อจำกัดค่าเบี้ยประกัน: เบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายต้องไม่เกิน 5% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่เกิน 20% ของกำไรสุทธิ ขึ้นกับยอดใดน้อยกว่า
  • ภาษี: บริษัทสามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ แต่ผู้เอาประกันต้องนำค่าเบี้ยประกันมารวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีนั้น

ในการวางแผนเรื่องการทำประกัน Keyman การเลือกแบบประกันที่สอดคล้องกับเงื่อนไข จะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด..

สมบูรณ์ประกัน สมบูรณ์ครบทุกความต้องการ

ประกัน Keyman" ตัวช่วยจัดการความเสี่ยง และภาษีธุรกิจ

การเปลี่ยนรายจ่ายให้เป็นสวัสดิการสำหรับผู้บริหารคนสำคัญเป็นวิธีลดหย่อนภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นที่ยอมรับของสรรพากร วิธีนี้ให้กรรมการหรือผู้ถือหุ้นได้รับสวัสดิการในรูปแบบเงินออมและความคุ้มครอง ผ่านการทำประกัน Keyman

ขอบเขตและเงื่อนไข

เงื่อนไขสำคัญในการทำประกัน Keyman

  1. อายุความคุ้มครอง: ต้องมีระยะเวลาความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  2. กรรมการทุกคน: ต้องทำประกันให้กับกรรมการทุกคน ไม่สามารถเลือกทำเฉพาะบางคนได้
  3. ข้อจำกัดค่าเบี้ยประกัน: เบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายต้องไม่เกิน 5% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่เกิน 20% ของกำไรสุทธิ ขึ้นกับยอดใดน้อยกว่า
  4. ภาษี: บริษัทสามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ แต่ผู้เอาประกันต้องนำค่าเบี้ยประกันมารวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีนั้น

 

ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำแบบประกันที่เหมาะสมค่ะ..

เราและทีมงานจะดำเนินการที่ตรงและเป็นประโยชน์กับลักษณะองค์กรของคุณให้มากที่สุดค่ะ..                                 

You may also like

Leave a Comment

Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00